คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ส22101                         ชื่อวิชา สังคมศึกษา 3

รายวิชา สังคมศึกษาฯพื้นฐาน          กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (1.5 หน่วยกิต)  ภาคเรียนที่ 1

 

 

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และสังคมของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา วิเคราะห์การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคม อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสังคม ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปและแอฟริกา สำรวจอภิปรายประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ในทวีปยุโรปและแอฟริกา วิเคราะห์เหตุและผลกระทบที่ประเทศใหม่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ในทวีปยุโรปและแอฟริกา

          ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ชุมชน และประเทศเห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย วิเคราะห์บทบาทความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม อธิบายความคล้ายคลึง และความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เพื่อให้ตระหนักและเข้าใจการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความเข้าใจในการเรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

 

รหัสตัวชี้วัด

ส2.1 ม2/1 ม2/2 ม2/3 ม2/4

ส2.2 ม2/1 ม2/2

ส5.1 ม2/1 ม2/2

ส5.2 ม2/1 ม2/2 ม2/3 ม2/4

         

         


คำอธิบายรายวิชา

วิชา สังคมศึกษา 1  รหัสวิชา ส21101

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (1.5 หน่วยกิต)  

     ศึกษาและอธิบายความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ ค่านิยมและพฤติกรรม การบริโภคของคนในสังคม ซึ่งส่งผลเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ ความเป็นมา หลักการและความสำคัญและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง การพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันทางเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทานและกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม

    เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก สามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง     เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ


คำอธิบาย.pdfคำอธิบาย.pdf

        

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                                            รายวิชา ประวัติศาสตร์                                                                                     รหัสวิชา  ส22103                                                        ภาคเรียนที่  1                                                                                                  เวลา  20  ชั่วโมง/ภาคเรียน  

         ศึกษาวิเคราะห์การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เห็นความสำคัญของการตีความ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรธนบุรีในด้านต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา อิทธิพลของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรีที่มีต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา

            โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ และกระบวนการแก้ปัญหา

            เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆ ในทวีปเอเชียจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ให้ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้น มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต  มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย


คำอธิบายรายวิชา.pdfคำอธิบายรายวิชา.pdf

                                                        โครงสร้างรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

รายวิชาภูมิศาสตร์                                                                                 รหัสวิชา  ส  21101


ศึกษา วิเคราะห์ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงลักษณะทางกายภาพ และสังคมของประเทศไทย

          ทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทยกับทวีปต่างๆ ภัยธรรมชาติและการระวังภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย  ทวีปเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ทำเลที่ตั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยทางกายภาพและสังคมที่มีผลต่อการเลื่อนไหลของความคิด เทคโนโลยี สินค้าและประชากร การเปลี่ยนแปลงทาง ธรรมชาติ และความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

          โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม

          เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

          ตัวชี้วัด

          ส 5.1   ม.1/1   ม.1/2   ม.1/3

          ส 5.2   ม.1/1   ม.1/2   ม.1/3   ม.1/4

 

          รวม  7  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชา โครงสร้าง.pdfคำอธิบายรายวิชา โครงสร้าง.pdf

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา  ส22104               ประวัติศาสตร์                                                รายวิชาประวัติศาสตร์ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  

จำนวนเวลา   20 ชั่วโมง/ภาคเรียน                 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                จำนวนหน่วยกิต 0.5หน่วยกิต

               

 

ศึกษา วิเคราะห์ วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะอย่างง่าย ได้แก่ การศึกษาภูมิหลังของผู้ทำหรือผู้เกี่ยวข้อง สาเหตุ ช่วงระยะเวลารูปลักษณ์ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ที่อยู่ในท้องถิ่นของตนเองหรือหลักฐานสมัยอยุธยา ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ในสมัยอยุธยาและธนบุรี การแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น รวมทั้งความจริงกับข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างการตีความข้อมูล จากหลักฐานที่แสดงเหตุการณ์สำคัญในสมัยอยุธยาและธนบุรี ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความทางประวัติศาสตร์

ศึกษาวิเคราะห์ที่ตั้งและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคต่างๆ ในทวีปเอเชีย(ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ การเมืองของภูมิเอเชีย  ที่ตั้งและความสำคัญของแหล่งอารยธรรมตะวันออก และแหล่งมรดกโลกในประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย อิทธิพลของอารยธรรมโบราณ ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียในปัจจุบัน

                โดยใช้กระบวนการคิด วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการแก้ปัญหา

                 เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความหมายความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆอย่างเป็นระบบ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและความสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

 

 

รหัสตัวชี้วัด         4.1      ม.2/1                                      ส 4.1      ม.2/2

                                4.1      ม.2/3                                     4.2   ม.2/1

                                4.2      ม.2/2

 

 


 


1

     

รหัสวิชา  ส 22101     รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน  3

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2     จำนวนเวลา  60   ชั่วโมง/ภาคเรียน

3   ชั่วโมง/สัปดาห์           จำนวน   1.5  หน่วยกิต



      ศึกษาการการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  ในการรวบรวมวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและทางสังคมของทวีปยุโรปและแอฟริกา  เข้าใจความสำคัญต่อการลงทุน  ปัจจัยและปัญหาของการลงทุนการจัดการเงินออมความหมายและความสำคัญและหลักการผลิตสินค้า  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้า  เป้าหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  แนวทางการคุ้มครองสิทธิของตนเอง  ต่อครอบครัว  ต่อชุมชนและประเทศชาติ  สถานภาพ  สิทธิ  เสรีภาพ  การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย  บทบาทสำคัญของสถาบันทางสังคม  ความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

        โดยการใช้กระบวน  ค้นคว้า  อภิปรายกลุ่ม  กระบวนการกลุ่ม  และสร้างความตระหนัก  ความรู้  ความเข้าใจ  การคิดอย่างมีวิจารณญาณและมุ่งมั่นในการทำงาน

     เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  และเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ  อยู่อย่างพอเพียง  มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นหลักการในการดำเนินชีวิตปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเหมาะสมในการที่จะพัฒนาตน  ท้องถิ่น และประเทศชาติสืบต่อไป


           รหัสตัวชี้วัด               

                               ส  2.1  ม.  2/2     ส  2.1  ม. 2/3      ส  2.1  ม.2/4

                                 ส  3.1  ม.  2/1      ส  3.1  ม. 2/2      ส  3.1  ม.2/3

                                 ส  5.1  ม.  2/1      ส  5.1  ม. 2/2



   ศึกษา วิเคราะห์กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและประเทศชาติ ความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด ผลเสียจากการว่างงานและแนวทางการแก้ปัญหา สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

       โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

       เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านวินัย ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง

ศึกษา วิเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดก
ของชาติ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร การตรัสรู้ การสั่งสอน ประวัติ
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินทุกชาดก ราโชวาทชาดก พระมหาธรรม
-ราชาลิไทย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โครงสร้างและสาระสังเขปของพระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

ศึกษาวิเคราะห์การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย  ความสำคัญของแหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรธนบุรีในด้านต่างๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา อิทธิพลของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรีที่มีต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา