คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ฝึกอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง ตีความ แปลความ และขยายความ วิเคราะห์ วิจารณ์ คาดคะเนเหตุการณ์ ประเมินค่า แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง เสนอความคิด ตอบคาถาม เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึกย่อความและรายงาน สังเคราะห์ความรู้จากการอ่านเพื่อพัฒนาตน พัฒนาการเรียนและพัฒนาความรู้ทางอาชีพ เขียนสื่อสาร เขียนเชิญชวน ประกาศ จดหมายกิจธุระ รายงานการประชุม เขียนกรอกแบบรายการ เขียนเรียงความ ย่อความจากสื่อต่าง ๆ ผลิตงานเขียนในรูปแบบรายการ เขียนเรียงความ ย่อความจากสื่อต่าง ๆ ผลิตงานเขียนในรูปแบบทั้งสารคดี และบันเทิงคดี ประเมินงานเขียน นามาพัฒนาตนเอง เขียนรายงาน ใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิง บันทึกการศึกษาค้นคว้า และมีมารยาทในการเขียน สรุปแนวคิด และแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ แนวคิดการใช้ภาษา ความน่าเชื่อถือ ประเมินและมีวิจารณญาณในการฟัง ดู พูด ต่อที่ประชุมชน พูดอภิปราย และมีมารยาทในการฟัง ดู และการพูด อธิบายลักษณะของภาษา เสียงในภาษา ส่วนประกอบของภาษา องค์ประกอบของพยางค์และคาใช้คาและสานวน การร้อยเรียงประโยค แต่งร่าย วิเคราะห์ และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดี และวรรณกรรม รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาทางภาษา ท่องจาและบอกคุณค่าบทอาขยาน และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
เพื่อ วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่า ทักษะทางภาษา สามารถนาไปพัฒนาตนเองพัฒนาการเรียน และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเห็นคุณค่าของภาษาไทย
รหัสตัวชี้วัด
ท 1.1 ม.4-6/1-9
ท 2.1 ม.4-6/1-7
ท 3.1 ม.4-6/1-6
ท 4.1 ม.4-6/1-7
ท 5.1 ม.4-6/1-6
รวม 35 ตัวชี้วัด
- Teacher: ครูชลาลัย ประสพบุญ
กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร
ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้อยู่ในประสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เวสสันดร”ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า “ปัจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐
กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตตามาเป็นภรรยาและหมายจะได้โอรส และธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส
ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงชูชก และชี้ทางสู่อาศรมอจุตฤๅษี
ชูชกได้ชูกลักลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกหล่อจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกหล่อนจนอจุตฤๅษี ให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก
พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพรากรุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้วชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระพระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ เป็นกรรณที่พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วสลบลงเมื่อได้พบ
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึงพระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ
กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์องค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจูงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน ท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครททพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา
พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ
- Teacher: ครูขัตติยะ นิระพงษ์
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน4 รายวิชา ท31101
ภาคเรียนที่ 1 หน่วยการเรียนรู้
1. ลักษณะของภาษา
2. การสื่อสารของมนุษย์
3. การรับสารด้วยการฟัง
4. การรับสารด้วยการอ่านและการอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง
5. นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ
6. นิทานเวตาล
สอบกลางภาค
7. ธรรมชาติของภาษาและพลังของภาษา
8. การส่งสารด้วยการอ่าน
9. การส่งสารด้วยการเขียน
10. อิเหนา
11. ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
- Teacher: ครูอาริสา โพธิ์ทอง
ลักษณะภาษาไทยทั้งลักษณะสำคัญและลักษณะเฉพาะ เช่น ระบบเสียง อักขรวิธี คำและโครงสร้างของคำ การสร้างคำ การจำแนกคำ ชนิดและโครงสร้างของวลีและประโยค และการใช้ถ้อยคำ
- Teacher: ครูอดุลย์ วิริยาพันธ์
ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม ลักษณะของวรรณคดี ประเภทของวรรณคดีและประโยชน์ของวรรณคดี สภาพและความเป็นมาของวรรณคดี การแบ่งยุคสมัยวรรณคดีไทย สภาพเหตุการณ์ทั่วไปของวรรณคดีสมัยสุโขทัยและอยุธยา ลักษณะของวรรณคดีสมัยสุโขทัยและอยุธยา กวีและวรรณคดีที่สำคัญในสมัยกรุงสุโขทัยและอยุธยา โดยใช้กระบวนการศึกษา ค้นคว้า การคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ คิดได้อย่างมีวิจารณญาณ สร้างสรรค์ มีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร มีคุณธรรม จริยธรรม และเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีจิตซาบซึ้งในคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
- Teacher: ครูสมเกียรติ เหล่าวิทยากุล